อัพเดทล่าสุด 14/08/2023
ในช่วงหน้าฝนน้ำท่วมฉับพลันบนท้องถนนมักเกิดขึ้นเมื่อฝนตกหนักเกินกว่าจะระบายน้ำออกจากถนนได้ ในกรณีที่เราจำเป็นต้องขับรถขณะที่น้ำท่วมขัง หรือ ลุยน้ำท่วม เราควรขับอย่างไรให้ปลอดภัย และ ดูแลรถ หลังลุยน้ํา ด้วยวิธีการ ดูแลรถหน้าฝน ป้องกันเครื่องยนต์ดับระหว่างการเดินทาง
9 วิธี ขับรถลุยน้ำยังไงให้ไม่พัง ควรปฏิบัติอย่างไร ?
1. ตรวจสอบระดับน้ำบนถนน
หากฝนตกหนักเกิดขึ้นขณะขับรถและถนนเริ่มมีน้ำขัง สิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึงคือความลึกของน้ำ ความลึกของน้ำที่ปลอดภัยขณะขับรถคือน้อยกว่า 30 เซนติเมตร สามารถประมาณค่าได้โดยการเปรียบเทียบระดับน้ำกับความสูงของทางเท้า ซึ่งโดยปกติความสูงของทางเท้าจะอยู่ที่ประมาณ 10 – 20 เซนติเมตร หากระดับน้ำสูงกว่าทางเท้า แนะนำให้เลี่ยงทางนั้น หรือคุณสามารถเปรียบเทียบความสูงของน้ำกับยางได้ เป็นเรื่องปกติที่จะขับต่อไปโดยที่ระดับน้ำต่ำกว่าครึ่งความสูงของยาง อย่างไรก็ตาม ระดับน้ำที่สูงถึงระดับประตู ขับรถลุยน้ํา ควันขึ้น อาจเป็นอันตรายเกินกว่าจะขับได้ เนื่องจากน้ำอาจเข้าไปและทำให้ไฟฟ้าลัดวงจรและเครื่องยนต์ดับได้
2. เลือกถนนเลนระดับสูง
หลีกเลี่ยงถนนเลนที่ต่ำกว่าและมีระดับน้ำที่สูง เปลี่ยนเป็นช่องทางอื่นที่มีเลนระดับที่สูงกว่า ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงน้ำจะเข้าสู่เครื่องยนต์ การที่ ขับรถลุยน้ําแล้วอาจมีเสียงดังที่เครื่อง ทำให้รถของคุณมีปัญหาใหญ่ตามมา
3. ลดความเร็วลง
หากจำเป็นต้อง ขับรถลุยน้ำท่วม ต้องให้ขับช้าๆ เพราะการขับรถเร็วอาจทำให้น้ำเข้ามาในเครื่องยนต์และทำให้เครื่องดับ ควรขับช้าๆ และมั่นคงไม่เกิน 1,500 – 2,000 รอบต่อนาที แนะนำให้ขับรถด้วยเกียร์สองสำหรับรถยนต์ธรรมดาและเกียร์ L หรือเกียร์ต่ำ สำหรับรถยนต์อัตโนมัติ
4. ปิดแอร์หรือเครื่องปรับอากาศ
การปิดเครื่องปรับอากาศ ขับรถลุยน้ํา ปิดแอร์ จะช่วยลดโอกาสที่น้ำจะกระเด็นในเครื่องยนต์เพราะพัดลมเครื่องปรับอากาศจะทำให้ใบพัดหมุนดูดน้ำเข้าสู่เครื่องยนต์ ทำให้เครื่องยนต์ขัดข้องได้ และยังช่วยหลีกเลี่ยงขยะลอยน้ำที่อาจติดอยู่กับพัดลมระบายความร้อนของเครื่องยนต์
5. เมื่อขับรถลุยน้ำสวนกัน ควรลดความเร็วลง
เนื่องจากระดับน้ำที่เกิดจากรถแต่ละคันที่สวนเลน จะสร้างคลื่นสูงดันผ่านมากับคลื่นที่เราดันไป ทำให้อาจเข้าไปในเครื่องยนต์และระบบไฟฟ้า
6. ควรรักษาระยะห่างจากคันหน้ามากกว่าปกติ
เนื่องจากประสิทธิภาพของผ้าเบรกจะลดลงเมื่อขับผ่านน้ำท่วม หากเกิดุการณ์ฉุกเฉิน จะได้มีระยะเบรกที่ปลอดภัย ระยะปลอดภัยประมาณ 2 – 3 เท่าของระยะปกติ
7. อย่าเพิ่งรีบดับเครื่องยนต์ทันทีเมื่อถึงที่หมาย
ให้จอดรถวอร์มเครื่องสักพักเพื่อให้น้ำระเหยออกจากระบบไอเสีย ซึ่งจะช่วยให้รักษาอายุการใช้งานของท่อไอเสียไม่ให้ผุกร่อนได้
8. เหยียบเบรกหรือคลัตช์ซ้ำเพื่อให้น้ำไหลออก
หากขับรถพ้นช่วงน้ำท่วมแล้ว ให้ทำการค่อยๆ ขับ และย้ำเบรกบ่อยๆ หรือเหยียบเบรกเป็นช่วง ๆ ถี่ ๆ เพื่อไล่น้ำออกจากระบบ และผ้าเบรกจะได้แห้งไวขึ้น สำหรับรถยนต์ที่ใช้เกียร์ธรรมดา ให้เหยียบคลัตช์ซ้ำเพื่อป้องกันการลื่นไถลของคลัตช์
9. ห้ามสตาร์ทเครื่องยนต์หากดับลงขณะขับกลางน้ำท่วม
ขับรถลุยน้ํา รถดับ ควรขอความช่วยเหลือ หากเป็นไปได้ให้นำรถออกจากพื้นที่ที่น้ำท่วม ซึ่งระดับน้ำไม่ควรเกินระดับครึ่งยาง หากคุณสตาร์ทเครื่องยนต์ในบริเวณที่ระดับน้ำสูง น้ำที่ค้างอาจเข้าไปในนะบบเครื่องยนต์และระบบไฟฟ้า และอาจทำให้เครื่องเกิดความเสียหายมากขึ้นกว่าเดิม
เทคนิค ดูแลรถหน้าฝน น้ำท่วม เหล่านี้จะช่วยให้ทุกคนปลอดภัยสำหรับการขับรถฝ่าน้ำท่วมและลดความเสี่ยงที่เครื่องยนต์จะหยุดทำงาน สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ หากมีความผิดปกติใดๆ ที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น ไม่ว่าจะเป็นที่เครื่องยนต์ ระบบไฟฟ้า หรือระบบเบรก คุณควรแจ้งศูนย์บริการหรือเรียกช่างมาดู จะได้แก้ไขอย่างถูกวิธี เพราะการ ขับรถลุยน้ํา ประกัน คุณจะไม่ได้รับความคุ้มครองนี้จากประกันภัยในการขับลุยน้ำท่วมจะต้องระมัดระวัง เพื่อความปลอดภัยของรถคุณเอง
แต่หากเพื่อนๆ คนไหนทีไม่สามารถหลีกเลี่ยงการขับรถลุยน้ำได้ เรามาดูวิธีแก้ปัญหา “วิธีดูแลรถยนต์หลังลุยน้ำท่วม” ซึ่งคุณสามารถตรวจสอบได้ด้วยตนเองดังนี้
วิธีดูแลรถยนต์หลังลุยน้ำท่วม
1. ตรวจสภาพห้องโดยสารหลังลุยน้ำ
หลังการขับลุยน้ำ ผู้ใช้ควรสำรวจความเสียหาย ความผิดปกติของห้องโดยสารทันที หรือภายในหนึ่งถึงสองวัน โดยให้สังเกตไปที่พรมปูพื้น หากมีความรู้สึกว่าใต้พรมการเปียกน้ำหรือแฉะ ให้รีบนำพรมออกตากแดด และไม่ควรทิ้งให้น้ำขังอยู่ภายในรถ ควรดูดหรือเช็ดออกให้แห้งทันที เนื่องจากการที่มีน้ำขังทำให้เสี่ยงต่อการเกิดสนิมภายในรถ จากนั้นเปิดประตูรถทั้งสีด้านเพื่อระบายอากาศ เพื่อไล่ความชื้นในห้องโดยสาร
2. ตรวจสอบระบบอิเล็กทรอนิกซ์และไฟฟ้า
ส่วนสำคัญที่ต้องตรวจสอบคือระบบการทำงานของรถ ตรวจสอบภายในกล่องฟิวส์ว่ามีความเสียหายหรือไม่ หากมีความเสียหายที่ฟิวส์ใดก็ควรเปลี่ยนทันที โดยอ้างอิงจากที่ฝากล่องฟิวส์รถยนต์ หากพบว่าเปียกน้ำ ให้รีบเช็ดให้สะอาด นอกจากนี้ควรตรวจสอบระบบไฟต่างๆ ภายนอกรถด้วย หากอยู่ในสภาพที่ไม่สมบูรณ์ ควรถอดขั้วแบตเตอรี่ออก เพื่อให้ช่างได้ทำการตรวจสอบ และประเมินต่อไป
3. ตรวจสอบการทำงานเครื่องยนต์
หลังการลุยน้ำท่วมแล้ว หากเครื่องยนต์มีอาการผิดปกติ เช่น อาการกระตุก เร่งเครื่องไม่ขึ้น หรือมีเสียงที่ดังกว่าปกติ ให้จอดรถแล้วตรวจสอบก้านวัดระดับน้ำมันเครื่อง หากพบว่ามีสีเหมือนกาแฟใส่นม แสดงว่ามีน้ำเข้าไปในเครื่องยนต์ จากนั้นควรตรวจสอบกรองอากาศ หากพบว่ากรองอากาศ และท่อไอดีเปียก แสดงว่ามีน้ำเข้าเครื่องยนต์ ควรรีบนำส่งศูนย์บริการหรืออู่ซ่อมเพื่อให้ช่างดูแลตั้งแต่เนิ่นๆ
4. ตรวจสอบการใช้งานของเบรครถ
เมื่อขับผ่านหลังลุยน้ำท่วม อย่าเพิ่งเร่งเครื่องออกตัวด้วยความเร็วสูงเด็ดขาด เนื่องจากการขับลุยน้ำอาจทำให้ผ้าเบรกเปียก ทำให้สูญเสียการยึดเกาะ หากมีการเหยียบเบรกเต็มแรงอาจทำให้รถเสียหลักเนื่องจากลื่นได้ สิ่งที่ผู้ขับขี่ควรปฏิบัติคือ หลังจากลุยน้ำผู้ใช้รถควรเหยียบเบรกย้ำๆ หลายๆ ครั้ง เพื่อทำให้ผ้า เบรครถ กับจานเบรก หรือดรัมเบรกอยู่ในสภาพปกติ ควรขับรถในความเร็วที่เหมาะสม ไม่เร็วเกินไป เพื่อความปลอดภายของผู้ขับขี่และผู้โดยสาร
เทคนิคเหล่านี้จะช่วยให้ทุกคนปลอดภัยสำหรับการขับรถฝ่าน้ำท่วมและลดความเสี่ยงที่เครื่องยนต์จะหยุดทำงาน สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ หากมีความผิดปกติใดๆ ที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น ไม่ว่าจะเป็นที่เครื่องยนต์ ระบบไฟฟ้า หรือระบบเบรก คุณควรแจ้งศูนย์บริการหรือเรียกช่างมาดู จะได้แก้ไขอย่างถูกวิธี เพื่อความปลอดภัยของรถคุณเอง
ทำอย่างไรหากคุณขับรถลุยน้ํา ไฟเครื่องโชว์ เตือนบนหน้าปัดรถ
- ไฟรูปเครื่องยนต์ แสดงว่าระบบเครื่องยนต์มีปัญหา ถ้ารถขับได้ก็เร่งได้ปกติ สังเกตการวัดอื่นๆ ควบคู่ไปด้วย โดยเฉพาะเรื่องความร้อน ถ้าความร้อนปกติก็ขับต่อไปได้ แต่ไม่ควรใช้ความเร็วและรอบเครื่องยนต์สูง เพื่อป้องกันความเสียหายต่อเครื่องยนต์ สามารถประคองรถกลับไปที่ศูนย์บริการได้โดยไม่ต้องลากจูง
- ไฟรูปเทอร์โบมิเตอร์สีแดง สำหรับมาตรวัดตัวนี้ เมื่อความร้อนของเครื่องยนต์ขึ้นสูง มันเป็นสัญญาณบอกว่า เครื่องยนต์ทำงานบกพร่อง สาเหตุที่ทำให้ความร้อนขึ้นสูงเป็นได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นท่อยางน้ำรั่ว หม้อน้ำรั่ว พัดลมระบาย ความร้อนไม่ทำงาน ฯลฯ
รู้หรือไม่หากคุณมีประกันชั้น1 อุ่นใจได้เลยเมื่อรถต้องเจอน้ำท่วม
ขับรถลุยน้ํา ประกัน ชั้น 1 เป็นการประกันที่ให้ความคุ้มครองสูงสุดสำหรับรถยนต์ แต่ไม่ใช่ทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจะได้รับการความคุ้มครอง
ความคุ้มครองเรื่องน้ำท่วมในประกันชั้น 1:
- ความเสียหายจากน้ำท่วม: ประกันชั้น 1 จะคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถยนต์จากน้ำท่วม เช่น ความเสียหายจากการแทรกซ้อนน้ำเข้าไปในช่วงเครื่องยนต์ ระบบไฟฟ้า หรือช่วงพื้นห้องโดยสาร
- การชดเชยค่าเสียหาย: ประกันชั้น 1 จะให้การชดเชยค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถยนต์จากน้ำท่วมในอัตราเต็ม โดยไม่คิดค่าระดับความเสียหาย